ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา หญ้ายายเภา, ลิเภาใหญ่
หญ้ายายเภา, ลิเภาใหญ่
Lygodium flexuosum (L.) Sw.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Schizaeaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Lygodium flexuosum (L.) Sw.
 
  ชื่อไทย หญ้ายายเภา, ลิเภาใหญ่
 
  ชื่อท้องถิ่น เต่วีเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), บ่ะกูดงอ(ลั้วะ), ผักกูดก๊อง(คนเมือง), กูดงอ(ไทลื้อ), ด่อวาเบรียง(ปะหล่อง), กูดก๊อง(คนเมือง) บะฮวาล กูดงอ(ลั้วะ), กิ๊โก่หล่า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กะราวาหระ(ขมุ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ หญ้ายายเภา เป็นไม้เถามีเหง้าสั้นอยู่ในดิน มีขนสีน้ำตาลปกคลุม
 
  ใบ มีใบประกอบ 5 ชั้น ก้านใบชั้นแรกยาวได้มากกว่า 50 ซม. โคนก้านสีน้ำตาลมีขนปกคลุม แกนกลางใบหรือก้านใบชั้นที่ 2 มีครีบสันตลอดความยาว มีขนปกคลุม แกนย่อยชั้นแรกหรือก้านใบชั้นที่ 3 ยาว 5 มม. มีขนปกคลุมและขนชี้ลง ก้านใบชั้นที่ 4 เป็นใบประกอบแบบขนนก 1-2 ชั้น รูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม ปลายแหลม กว้าง 7-12 ซม. ยาว 10-25 ซม. ก้านใบชั้นที่ 5 เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ 3 แฉก หรือใบเดี่ยว โคนของแฉกเว้าแบบหัวใจ ขนาดใบกว้าง 2.5 ซม. ยาว 15 ซม. ปลายแหลม ขอบใบจักซี่ฟัน เป็นครีบสันมีขนประปราย ที่โคนและก้านใบไม่มีข้อต่อที่จุดเชื่อม แผ่นใบบางและเรียบ อับสปอร์เกิดที่ส่วนติ่งยื่นออกจากขอบใบย่อยชั้นสุดท้าย
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อนนำไป ประกอบอาหาร เช่น แกง(ลั้วะ,ไทลื้อ)
ยอดอ่อน นึ่งกินกับน้ำพริก(ลั้วะ,กะเหรี่ยงแดง)
ยอดอ่อน นึ่งกินกับน้ำพริกหรือนำไปประกอบอาหารเช่น แกง ผัด(ขมุ,คนเมือง,ปะหล่อง)
- ใบ ขยี้แล้วใส่แผลสด ช่วยให้แผลแห้งและหายเร็วขึ้น(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ใบ ขยี้พอกแผล ช่วยห้ามเลือด(กะเหรี่ยงแดง)
ส่วนใต้ดิน ต้มเป็นยาห่มแก้พิษจากสุนัขกัด แก้ปวด แก้อาการจากพิษ ช่วยแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว(คนเมือง)
ราก นำไปต้มน้ำดื่มรักษาโรคนิ่วและริดสีดวง ทวาร(คนเมือง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง